Saturday, July 30, 2016

เริ่มเขียนภาษา Python : ประกาศตัวแปรและ การแสดงค่าตัวแปร

       เริ่มแรก เรามาประกาศตัวแปรก่อน เพราะโปรแกรมในการทำงานจะใช้ตัวแปรในการคำนวนต่างๆทั้งหมด
       ภาษา Python นั้น เราไม่ต้องกำหนดชนิดของตัวแปรระบบก็รู้ว่าคือตัวแปรชนิดอะไร

วิธีการประกาศตัวแปร
จะประกอบด้วย ชื่อตัวแปร, เครื่องหมายเท่ากับ, สิงที่ต้องการบรรทึกลงไปในตัวแปรนั้นๆ เช่น
var = 5
แปลเป็นภาษาพูด คือ กำหนดตัวแปรชื่อ var มีค่าเท่ากับ 5

* การกำหนดตัวแปรเครื่องหมาย = ไม่เหมือน เครื่อหมาย = ทางคณิตศาสตร์ คือ var = 5 แต่ไม่ได้หมายความว่า 5 = var 
**ชื่อตัวแปรสามารถใช้เครื่องหมาย _ ได้ สามารถใส่ตัวเลขได้ แต่ไม่สามารถใส่ตัวเลขไว้หน้าสุดได้ไม่สามารถตั่งชื่อที่เป็นชื่อเฉพาะหรือคำสั่งของภาษาได้เช่น print หรือเครื่องหมาย # % $ เป็นต้น

เครื่องหมาย = หมายถึงการนำจำนวน(ตัวเลข, ตัวหนังสือ) ไปใส่ในตัวแปรนั้น



เรามาดูตัวแปรแต่ละชนิดกัน
> ตัวแปลที่เก็บค่าเป็นจริง และเท็จ
>>boolean เป็นตัวแปรที่เก็บค่าแค่จริง(True หรือ 1) และเท็จ(False หรือ 0)เท่านั้น
ตัวอย่างการประกาศตัวแปร boolean
*True และ False ต้องใช้ตัวอักษรตัวแรกเป็นตัวใหญ่เท่านั้น ไม่สามารถประกาศว่า = 1 และ = 0 
**0 และ 1 สามารถใช้ในการเปรียบเทียบได้ จริง = 1 และ เท็จ = 0 
> ตัวแปลที่เก็บค่าเป็นตัวเลขมี int, float, complex
>> int คือตัวแปรที่เก็บค่าเป็นจำนวนเต็มบวก หรือจำนวนเต็มลบ เช่น 1, 5, -5, 40 ,100
ตัวอย่างการประกาศตัวแปร int

แล้วเราสามารถประกาศตัวเลขได้ยาวขนาดไหน

ยาวขนาดนี้ก็สามารถประกาศได้ :)

>> ตัวแปรชนิดต่อไป float เป็นตัวแปรที่เก็บค่าเป็นจำนวนตัวเลขที่มีจุดทนิยม เช่น 1.5, 1.3, 0.01, -7.6
*การเก็บข้อมูลจะเป็นรูปของสัญกรณ์วิทยาศาสตร์เช่น 1.25e+6 มีค่าเท่ากับ1,250,000
ตัวอย่างการประกาศตัวแปร float 

แล้วเราสามารถประกาศตัวเลขได้เยอะขนาดไหน
ได้เยอะขนาดนี้เลย

>> ตัวแปรที่เป็นตัวเลขชนิดสุดท้าย complex เป็นตัวแปรที่เก็บตัวเลขที่เป็นจำนวนจริงและ จำนวนจินตภาพ เช่น 1+2j, 15j, 30-95j
ตัวอย่างการประกาศตัวแปร complex 


* ตัวแปร long เมื่อไปอ่านในเว็บจะพบชื่อตัวแปรข้างต้นขึ้นมาแต่ผู้เขียนเองไม่สามารถประกาศตัวแปรชนิดนี้ตามที่เว็บต่างๆ บอกได้ 
** ความเห็นส่วนตัว ตัวแปบ long คือ เก็บจำนวนเต็มที่เก็บได้มากกว่า int แต่ในภาษา Python 3.5.2 ตัวแปร int สามารถประกาศแล้วให้มีค่าได้มาเยอะมากๆ ดั้งนั้นจึงไม่จำเป็นที่จะมีตัวแปร long ข้อความจาก ** เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวจากผู้เขียน ซึ้งอาจจะมิใช่ข้อเท็จจริง

> ตัวแปลที่เก็บค่าเป็นตัวอักษรมี String
>> String เป็นตัวแปรที่ก็บอักษรตั่งแต่1ตัวอักษรขึ้นไป เช่น "a", "ก", "O5B1H21", "85", "abcABC"
String จะเก็บตัวอักษรรวมถึงตัวเลข ภายในเครื่องหมายคำพูด "_" หรือ '_' ก็ได้แต่ต้องเหมือนกันทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
ตัวอย่างการประกาศตัวแปร String

เมื่อเราประกาศตัวแปรเป็นแล้ว ต่อไปเราสามารถให้ตัวแปรแสดงจำนวน หรือปริมาณที่เก็บอยู่ในตัวแปรได้ ด้วยคำสั่ง print( )
เอ๊ะ!! ทำไมไม่แสดงละ ?? >> เราต้องทำการ Run โค้ดของเราก่อน โดย Run> Run Module หรือ คีย์ลัด F5
จากนั้นโปรแกรมจะขึ้นหน้ามาว่าให้ทำการบรรทึกไฟล์ก่อน
เลือกที่ที่จะบรรทึก(เก็บเป็นระเบียบก็ดีหลังๆหายากมาก :) )จากนั้นจะขึ้นหน้าต่างใหม่เป็นหน้าต่าง  Output มาให้เรา  Python 3.5.2 Shell << คือหน้าต่างที่แสดง Output

ถ้าไม่มี Error อะไรหน้าต่างที่ขึ้นมาและแสดงผลของโปรแกรมที่เราเขียนให้เราเห็น

       และเมื่อเราสามารถแสดงข้อมูลได้แล้ว บางครั้งมีข้อมูลที่ยากแล้วไม่จำเป็นหรือไม่ต้องการให้แสดงผล เราก็สามารถเรียนใช้คำสั่งพิเศษ เพื่อให้สามารถแสดงข้อมูลเฉพาะส่วนที่ต้องการได้ 
*var คือ ตัวแปร
> คำสั่งแสดงชนิดตัวแปร คำสั่ง type(var) 
> คำสั่งแรกใช้กับตัวแปรชนิด int 

> คำสั่งแรกใช้กับตัวแปรชนิด float


> คำสั่งแรกใช้กับตัวแปรชนิด String
**คอมพิวเตอร์เริ่มนับตัวแรกเป็นตัวที่ 0

No comments:

Post a Comment